เทคนิค

การก่อ Air Block

arc บล็อก แนะนำให้ก่อด้วยปูนก่อสำเร็จรูป ขนาดบรรจุ ถุงละ 50 กิโลกรัม ที่มีจำหน่ายตาม ท้องตลาด เช่น ทีพีไอ M310

การผสมปูนก่อ

ปูนก่อสำเร็จรูป ผสมกับน้ำสะดาษใช้ได้ทันที โดยผสมในสัดส่วนปูนก่อ 1 ลูก (50 กิโลกรัม) ต่อน้ำสะอาด 12 ลิตร (ประมาณ 2 ถัง) ผสมให้เข้ากันอย่างดี (หรือตามวิธีการใช้งานของผู้ผลิต)

หมายเหตุ : ปูนก่อที่เริ่มจับตัวแข็ง ห้ามนำมาให้ก่อโดยเด็ดขาด และก่อหนาประมาณ 2-3 มม.

การก่อบล็อกชั้นแรก

เริ่มก่อขั้นแรก โดยการกำหนดแนวก่อผนัง และใช้ปูนก่อผสมมือธรรมดา ปรับแนวระดับของพื้น ตามแนว ก่อผนังให้ได้ระดับก่อนนำก้อนบล็อกที่จัดเตรียมไว้ ทาปูนก่อ ด้วยเกรียงก่อเสร็จแล้วจึงนำ ก้อนบล็อกมาก่อ จัดแนวและระดับให้ได้เพื่อความสะดวกในการก่อชั้นต่อไป การก่อบล็อกก้อนสุดท้ายของแต่ละชั้น ต้องทาปูนก่อทั้งบล็อกที่ก่อไว้แล้ว และบล็อกที่จะนำไปก่อ

technique-1

การจัดเรียงบล็อกก่อ

ใช้วิธีเรียงบล็อกแบบสลับแนว เหมือนกับการก่ออิฐมอญ และคอนกรีตบล็อก โดยให้แนวบล็อก เหลื่อมกัน ไม่น้อยกว่า 10 ซม. หรือครึ่งหนึ่งของความยาวบล็อก

technique-2ข้อควรระวัง : การก่อจะต้องใส่ปูนก่อให้เต็ม ปราศจากโพรงหรือรู

การก่อชนเสา ศศล. หรือเสาเหล็ก

การก่อชนเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) หรือเสาเหล็ก จะต้องเสียบเหล็กเส้นกลม ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง ø 6 มม. ไว้ที่เสาทุกระยะความสูงไม่เกิน 6 ซม. โดยที่เสาเหล็กจะใช้วิธีการเชื่อมเหล็กเส้นกลม ø 6 มม. ยึดติดไว้ที่เสา

ก่อบล็อกชนคานหรือท้องพื้น

การก่อบล็อกชนท้องคานหรือท้องพื้น ต้องเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 2 – 3 ซม. แล้วอุดด้วยปูนทราย (ปูนจืด) แต่ถ้าท้องพื้นคานที่จะก่อบล็อกเข้าไปชนมีโอกาสหย่อนตัวลงมาได้ เช่น ระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. แล้วอุดด้วยวัสดุที่มีความหยุ่นตัว เช่น โฟม หรือแผ่นยาง

technique-3

ก่อบล็อกชนท้องพื้น หรือท้องคานทั่วไป เว้นช่องว่างส่วนบน 2-3 ซม.

technique-4

ก่อบล็อกชนท้องพื้นระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก เว้นช่องว่างส่วนบนไม่น้อยกว่า 2.5 ซม.

การติดตั้งอุปกรณ์

1. การติดตั้ง วงกบประตู และวงกบหน้าต่าง ต้องจำทำเสาเอ็น ทับหลัง คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) รัดรอบวงกบประตู – หน้าต่าง

technique-5 technique-6

2. การฝังท่อร้อยสายไฟ และท่อประปา

  • กรณีที่ก่อผนังบล็อกไว้ก่อน ให้ใช้เครื่องมือขูดทำร่อง หรือใช้เครื่องตัดไฟฟ้า ตัดเป็น แนวลึก แล้วใช้สกัด สกัดผนังออกเป็นร่องลึกเพื่อฝังท่อร้อยสายไผ หรือท่อน้ำประปา (จะทำได้ง่ายกว่าผนังอิฐมอญ และคอนกรีตบล็อก) ความลึกของร่องไม่ควรเกิน 1 ใน 3  ของความหนาก้อนบล็อก เมื่อติดตั้งท่อน้ำ หรือท่อร้อยสายไฟเสร็จแล้วปิดทับด้วยปูนทราย
  • กรณีที่ติดตั้งท่อร้อยสายไฟ หรือท่อประปาไว้ก่อนก่อบล็อก ให้ดำเนินการก่อบล็อก แล้วเว้นช่อง สำหรับท่อนั้น ๆ แล้วเทปูนทรายปิดหุ้มแนวท่อนั้น
technique-7 technique-8

การติดตั้ง เสาเอ็นและทับหลัง คสล.

การติดตั้ง เสาเอ็น และทับหลัง คสล. เพื่อให้ผนังบล็อกเกิดความแข็งแรง สามารถต้านทานต่อแรง ต่าง ๆ ที่มากระทำได้

ติดตั้งเสาเอ็น และทับหลัง คสล. เมื่อผนังที่ก่อบล็อกยาว หรือสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดใน ตาราง โดยการทำเสาเอ็น และทับหลัง คสล. จะต้องทำตลอดความสูง และความยาวของผนัง ขนาดความ หนาของเสาเอ็นและทับหลัง เท่ากับความหนาของบล็อกที่ก่อเสริมเหล็กเส้นกลม ขนาด ø 6 มม. จำนวน 2 เส้น เหล็กเสริมจะต้องฝังลึกในพื้น และคานด้านบน

technique-ต ระยะตามแนวตั้ง และแนวนอนสำหรับผนังแอโรกรีต บล็อกขนาดต่าง ๆ สำหรับ แรงดันด้านข้าง 25 กิโลกรัม/ตร.ม.
ความสูง(เมตร)ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น (เมตร) ก.
ความหนาของก้อนบล็อก (ซม.)
7.51012.51517.520
25.68.710.9121212
2.2558.710.9121212
2.54.289.6121212
2.753.87.39.211.81212
33.46.78.911.51212
3.253.16.28.611.21212
3.535.48.310.81212
3.752.94.8810.51212
42.84.67.710.21212
4.252.64.37.49.91212
4.52.54.179.61212
52.23.96.4911.512
5.523.65.88.310.912
61.83.35.1710.212

หมายเหตุ :

  1. สำหรับผนังภายใน
  2. ผนังไม่ได้รับน้ำหนัก (Non-Loadbearing wall)
  3. ผนังไม่มีช่องเปิด
  4. ริมผนังทั้งสี่ด้านยึดติดกับเสา หรือคานตลอดแนว

ลักษณะการติดตั้งเสาเอ็น และทับหลัง คสล.

technique-10technique-11technique-12

การฉาบผนัง Air Block

ชนิดของปูนฉาบ

  • ปูนฉาบสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น TPI M210 , ลูกดิ่ง, เสือคู่ฟ้า, ตรามี, ตราผื้ง
  • ปูนฉาบผสมมือ เช่น ตราเสือ, ตราทีพีไดเขียว หรืออื่น ๆ

การฉาบโดยปูนฉาบสำเร็จรูป

ก่อนฉาบโดยปูน ผนังต้องก่อไว้แล้วไม่น้อยกว่า 1 วัน สำหรับผนังภายในพื้นผิวของผนังต้องสะอาด และให้ชุ่มน้ำพอสมควร เพื่อไม่ให้ผนังดูดน้ำจากเนื้อปูนฉาบเร็วเกินไป ซึ่งเป็นเหตุทำให้เสียความแข็งแรง และเกิดการแตกร้าวได้ หลังจากผนังทำให้ชุ่มน้ำหมาดตัวแล้ว จึงเริ่มทำการฉาบปูนได้

การฉาบปูน ควรฉาบอย่างน้อย 1 ชั้น โดยมีความหนาแต่ละชั้นไม่เกิน 1.5 ซม. และเมื่อรวม 2 ชั้นแล้ว ไม่ควรเกิน 2.5 ซม. แต่กรณีที่ฉาบหนาไม่เกิน 1 ซม. สามารถฉาบชั้นแรกแล้วแต่งผิวเรียบได้ทันที ไม่ต้อง แบ่งฉาบ 2 ชั้น

ฉาบผิวครั้งแรก ให้ผสมปูนฉาบค่อนข้างเหลว และเมื่อฉาบเสร็จก่อนผิวที่ฉาบจะแข็งตัวควรขีดผิว ให้เป็นร่อง (กรดหน้าลาย) หรือติดตะแกรงกรงไก่ให้ทั่วทั้งผนัง เพื่อช่วยให้การเกาะยึดกับปูนฉาบ (ชั้นที่ 2) ซึ่งควรจะเริ่มฉาบ หลังการฉาบ ครั้งแรก ดังนี้

  • ผนังภายใน ฉาบชั้นแรกทิ้งไว้ 1 วัน ฉาบชั้นที่ 2 ได้
  • ผนังภายนอก ฉาบชั้นแรกทิ้งไว้ 3 วัน ฉาบชั้นที่ 2 ได้ โดยที่ก่อนการฉาบชั้นที่ 2 ต้องพรมน้ำลงบนผิวฉาบชั้นแรกชุ่มน้ำเสียก่อน เช่นเดียวกัน
 technique-13

การฉาบในจุดที่ง่ายต่อการแตกร้าว

  1. รอบวงกบ ประตู หน้าต่าง
  2. รอยต่อระหว่างโครงสร้าง คสล. กับผนังบล็อก
  3. แนวฝังท่อน้ำ และท่อร้อยสายไฟ

เพื่อป้องกันการแตกร้าวของปูนฉาบ จำเป็นต้องใช้ลวดตะแกรงกรงไก่ (Meter Mesh) ขึงให้ตึงบนผิวหน้าปูนฉาบชั้นแรก โดยให้ลวดตาข่ายเหล็กกว้างกว่าแนวที่ปิดทับ ด้านละไม่น้อยกว่า 10 ซม.